Welcome

Welcome

Thursday, May 22, 2014

ประโยชน์ของผึ้งทางด้านการแพทย์

 

jg105


        ผึ้งบำบัด คือ การใช้พิษผึ้งในการรักษาโรคนั้นเป็นศาสตร์และเทคนิคแห่งการรักษาเยียวยาอย่างได้ผล เพื่อการป้องกันและรักษาโรค ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สืบทอดมานานกว่า 3,000 ปี และแพร่หลายในสากล ผึ้งบำบัด เป็นการรวมกันระหว่าง ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ผึ้งต่อย เพื่อบำบัดโรค และการฝังเข็มที่เป็นศาสตร์การรักษาในแพทย์แผนจีน จนพัฒนากลายมาเป็น การรักษาโดยการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้ง หรือ ผึ้งบำบัด


ผึ้งบำบัด ประกอบด้วย 2 ประการ คือ
1. การใช้พิษของผึ้ง โดยการฝังตามจุดบนลมปราณด้วยเหล็กในผึ้ง โดยจะต้องควบคู่กันไปกับการใช้ ผลิตภัณฑ์ผึ้ง
2. การบริโภคผลิตภัณฑ์จากผึ้ง เพื่อส่งผลต่อการบำบัดอาการหรือโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการรักษาโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจต้องรับการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้งเป็นเวลาหลาย ๆ ครั้งอย่างต่อเนื่อง

พิษผึ้งกับการรักษาโรค
     องค์ประกอบทางเคมีของพิษผึ้งมีคุณประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อการรักษา ผึ้งบำบัด เช่น ฮีสตามีน (Histamine) เซอโรโตนิน (Serotonin) โดพามิน (Dopamine) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีกรดอมิโนและเอนไซม์เป็นองค์ประกอบเล็กน้อย ซึ่งพิษผึ้งนี้เองซึ่งเป็นยาจากธรรมชาติขนานเอกที่ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้นโดยใช้หลักการของ พิษต้านพิษ เพื่อปรับให้เกิดความสมดุลคืนมา

บทบาทการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้ง

1. ปรับการทำงานของร่างกาย โดยไม่ทำลายภาวะสมดุลของร่างกาย
2. สามารถใช้ได้ทั่วไป อย่างกว้างขวาง และการรักษามีผลตอบสนองที่เร็ว

ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง


     ผลิตภัณฑ์จากผึ้งเพื่อการรักษา ผึ้งบำบัด ได้แก่ นมผึ้ง เกสรผึ้ง พรอพอริส น้ำผึ้ง โดยล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พิษผึ้งรักษาให้ได้ผลที่ดี และนอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยบำรุงอวัยวะภายใน เพื่อให้สามารถทนต่อพิษผึ้งที่นำเข้าสู่ร่างกาย เพื่อบำบัดโรค และลดโอกาสของการแพ้พิษผึ้ง โดยแพทย์จะทำการจ่ายให้แก่ผู้ป่วย ตามความเหมาะสมของอาการแต่ละโรค เพื่อประสิทธิผลที่ดีที่สุดในการรักษาแบบ ผึ้งบำบัด

อาการที่เหมาะกับการรักษาโดย ผึ้งบำบัด
อาการปวดและไขข้ออักเสบ :
ปวดเอว ปวดเข่า ปวดไหล่ ปวดต้นคอ ไมเกรน
ไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เกาต์ ข้อเข่าเสื่อม นิ้วล็อค เส้นเอ็นอักเสบ

โรคและอาการอื่น ๆ :
แขนขาชา อัมพฤกษ์ อัมพาต ริดสีดวงทวาร สะเก็ดเงิน อาการปวดแสบปวดร้อนจากงูสวัด ตะคริวน่อง เส้นเลือดขอด ไซนัสอักเสบ เป็นต้น

ภาวะอื่น ๆ :
ภาวะมีบุตรยากทั้งหญิง ชาย หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เลิกบุหรี่ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นต้น

ข้อจำกัดในการรักษาด้วย ผึ้งบำบัด

- ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต ห้ามฝังเข็มด้วยพิษผึ้ง

- หญิงตั้งครรภ์ และระหว่างมีประจำเดือน

- ผู้ที่นอนดึก และนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง

- อยู่ในภาวะที่หิว หรืออิ่มมากจนเกินไป

- ดื่มแอลกอฮอล์ และของหมักดองมาก่อนการรักษา

- ร่างกายอ่อนเพลีย ตื่นเต้น กลัว โกรธ เหงื่อออกมาก

4a0fe2719f4faการรักษาด้วย ผึ้งบำบัด ปลอดภัยไหม
    การรักษาด้วย ผึ้งบำบัด นั้นมีมายาวนาน และเริ่มเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยปรัชญาพื้นฐานของ ผึ้งบำบัด นั้น มีแนวคิดในการใช้วิธีทางธรรมชาติในการบำบัดโรค การใช้ ผึ้งบำบัด มุ่งเน้นการกระตุ้นพลังงานในร่างกายและเลือดลมให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น ซึ่งศาสตร์ ผึ้งบำบัด นี้เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องให้ใช้รักษาคนได้ในหลายประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้ป่วย 1-2% ที่อาจแพ้พิษผึ้งได้ การรักษาด้วย ผึ้งบำบัด จึงต้องมีการคัดกรองผู้ป่วยก่อน โดยทดสอบอาการแพ้พิษผึ้งก่อนทำการรักษา

4a0fe2719f4faก่อนมารักษาด้วย ผึ้งบำบัด ต้องเตรียมตัวอย่างไร
    การใช้ ผึ้งบำบัด ก่อนทำการรักษาจะต้องเตรียมร่างกายให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ผู้ป่วยต้องไม่รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่อยู่ในภาวะที่อิ่ม หิว หรือ เหนื่อยจนเกินไป

   4a0fe21472cb2   More info : http://www.mfu.ac.th/other/apitherapy/knowledge.php
                              https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20100518080611AALtams

No comments:

Post a Comment